Bookmark and Share  
[ All VW Technics ]
รักจะเล่นรถยนต์ (โฟล์ค)
ในวงการของผู้ที่จะเริ่มต้นครอบครองรถโฟลค์ซะคันหนึ่ง ก็ต้องมีคำถามว่า คันนี้? รุ่นนี้? มีอะไร? ตรงรุ่นรึเปล่า คำถามนี้ออกจะสำคัญเอามากๆ ก็ด้วยว่ารถโฟล์ค เครื่องยนต์ท้าย ระบายความร้อนด้วยอากาศ ( แอร์คูลล์ ) ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ล้วนมีอายุเกินกว่า 30 ปี แล้วทั้งสิ้น

รูปร่างภายนอกที่มองดูว่าคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วในการผลิตรถแต่ละรุ่น แต่ละปีไม่เหมือนกันเลย ความรู้ถึงข้อมูลเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลรักษารถ ที่ครอบครองอยู่ หรือคิดจะซื้อหามาใช้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คนรักโฟล์ค คงจะมีเก็บไว้เป็นกรรมสิทธิ์

 
กันชน
กันชน2ชั้น หรือ กันชนรั้ว
กันชน2ชั้น หรือ กันชนรั้ว

กันชน 2 ชั้น หรือ กันชนรั้ว
กันชนของรถเต่านั้นแข็งแรงและทนทานจริงๆ ทั้งเหล็กและการชุบโครเมียม ถ้าได้รับการดูแลรักษาพอสมควร ก็จะอยู่กับรถได้ตลอดไป กันชนเต่ารุ่นเก่าจะมีขนาดเล็กมนยาวตลอด ครอบคลุมความกว้างของรถเอาไว้ทั้งด้านหน้าและหลัง มีหงอนเล็กที่แข็งแรงอยู่ 1 คู่ ถ้าเป็นรุ่นพิเศษก็จะมีเหล็กกลม เสริมสูงขึ้นมาอีกชั้น ด้านบนมีขาช่วยพยุง เจาะทะลุเข้าไปในบังโคลนทั้งหน้าและหลัง อย่างนี้เรียก กันชน 2 ชั้น หรือ กันชนรั้ว กันชนดังกล่าวจะมีมาถึงรุ่นปี 1967 อันเป็นรุ่นสุดท้ายของกันชนแบบนี้ แต่ก็ไม่ใช่เป็นเกณฑ์ตายตัว เพราะปี 1967-1971 บริษัท ประชายนต์ จำกัด ได้นำเข้ารถเต่ารุ่นประหยัด 1,200 cc. จะใช้กันชนเล็กมนเพียงชิ้นเดียว

กันชนใหญ่ หรือกันชนเหลี่ยม
กันชนใหญ่ หรือกันชนเหลี่ยม
กันชนใหญ่ หรือ กันชนเหลี่ยม
ปี 1968 กันชนได้ถูกออกแบบให้ใหญ่เป็นเหลี่ยม อยู่สูงกว่ารุ่นเก่า เรียกรุ่น กันชนใหญ่ เรื่อยมาจนถึงปี 1975 ได้นำสัญญาณไฟเลี้ยวไปติดตั้งไว้ที่กันชนแทนบนบังโคลนหน้า ( รุ่นนี้มีรถน้อยคัน ส่วนใหญ่เป็นรถนำเข้ามาเอง เพราะบริษัท ประชายนต์ ได้เลิกประกอบรุ่นเต่าตั้งแต่ปี 1974 )

ไฟหน้า
ตาหวาน

ตาเอียง ตานอน ตาหวาน
ไฟหน้าเปรียบเสมือนดวงตาของรถเต่ารุ่นดั้งเดิม จนถึงปี 1967 จะมีลักษณะกลมรีเล็กน้อย มองจากด้านข้าง จะเห็นลาดเอียง ลงไปตามบังโคลน รุ่นนี้เรียกรุ่น ตาเอียง ตานอน และ ตาหวาน ภายในจะมีหลอดกลม พร้อมไฟหรี่เล็กอยู่ภายใน

สำหรับปี 1965 เป็นต้นไป ภายในจะเป็นหลอด ซีลบีม ซึ่งให้แสงสว่างที่ดีกว่า ถึงแม้จะเป็นระบบ 6 โวลท์ ส่วนหลอดไฟหรี่ จะออกมาอยู่หน้าสุด มองเห็นได้ชัดเจน

ตาตั้ง

ตาตั้ง
ปลายปี 1967 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไฟหน้าใหม่ คือ มีลักษณะกลม การติดตั้งอยู่ในแนวดิ่ง เรียกรุ่น ตาตั้ง ระบบไฟเปลี่ยนเป็น 12 โวลท์แล้ว

รุ่นตาหวานเป็นต้นมาจนถึงรุ่นตาตั้งแรกต้นปี 67 นั้น ใต้ไฟหน้าลงมาจะเห็น ช่องกลมรีเป็นโครเมียม เจาะอยู่ที่บังโคลนเพื่อให้เสียงแตรผ่านออกมาได้ ช่องนี้จะหายไปเมื่อเป็นรุ่น 68 เป็นต้นไป แต่ถ้าเป็นรุ่น 1,200 ประหยัด ก็จะมีช่องดังกล่าวคงอยู่ต่อไป แม้จะรุ่นเกิน 68 ขึ้นไป

ไฟท้าย
ในบ้านเรารุ่นเก่าสุดจะเป็นไฟเล็กกลม ด้านบนของฐานเหล็กจะมีช่องเจาะใส่เลนส์รูปหัวใจ สำหรับไฟเบรค จนถึงปี 1953

ไฟท้ายทับทิม
ปี 1954-62 ดวงไฟจะใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อย เป็นรูปกลมรี เป็นกระจกสะท้อนแสงสีแดง
ฐานเล็กเต็ม ไม่มีช่องเจาะ
ไฟท้ายรูปไข่
ปี 1963-65 เปลี่ยนขนาดใหญ่ขึ้น เป็นรูปกลมรียาว ทำด้วยพลาสติก แบ่งเป็น 3 ช่อง
บน-เหลืองไฟเลี้ยว กลาง-แดงไฟเบรค ล่าง-แถบสะท้อนแสง
ไฟท้ายรูปไข่
ปี 1966-67 รูปร่างคงเดิม แต่เป็นสีแดงหมดทั้งดวง
ไฟท้ายเตารีด
ปี 1968-72 ขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นอีก ด้านล่างตัดตรง เรียกรุ่น เตารีด
ไฟท้ายกลม
ปี 1973 เปลี่ยนเป็นรุ่นกลมใหญ่มากขึ้น เรียกรุ่น ไฟท้ายกลม
เป็นรุ่น superstar และรุ่นธรรมดาของปี 1973, 1974

ไฟเลี้ยว
รุ่นเก่าจนถึงปี 1956 จะมีก้านยกเลี้ยวกระดกได้เรียก " Semaphore " อยู่ที่เสากลางของรถ
ปี 1957-63 เปลี่ยนเป็นไฟกะพริบขนาดเล็ก อยู่บนบังโคลนหน้า
ปี 1964-74 ขนาดไฟกะพริบกว้างใหญ่ขึ้น
ปี 1975 สัญญาณไฟกะพริบย้ายลงไปอยู่ที่กันชนหน้า แทนที่อยู่บนบังโคลน

ฝากระโปรงหน้า
ฝากระโปรงหน้ารถเต่าเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร
   
รุ่นเก่าถึง 1957 จะยาวลาดแหลมรีตรงกลาง จะมีคิ้วโครเมียมใหญ่มาสุดเหนือมือเปิด จะมีป้านสัญลักษณ์ " Wolfburg " หมายืนบนกำแพง ลงยาลวดลายละเอียดชัดเจนหลากสี
ปี 1959-62 ป้ายสัญลักษณ์ " Wolfburg " จะเป็นรูปประยุกต์เป็นลายเส้น และป้ายนี้จะหายไปในปี 1963 คิ้วโครเมียมกลางจะยาวลงมาจนถึงมือเปิดกระโปรงหน้า
ปี 1967 คิ้วโครเมียมกลางมีขนาดเล็กลง
ปี 1968 มีการเปลี่ยนแปลงโดยขนาดสั้นขึ้นมา และป้ายด้านล่างตรงมือเปิดมีปุ่มสีดำ กดปลดล็อคจังหวะที่ 2 ขอบด้านบนเจาะช่องลมให้ลมผ่านเข้าไปในห้องโดยสารได้
ปี 1971 ฝากระโปรงหน้าโค้งนูนออกมา เรียกรุ่น หน้าโหนกกระจกยังไม่โค้ง หรือรุ่น 1302 เปลี่ยนระบบกันสะเทือนหน้าจาก Torsion bar เป็นระบบคอยล์สปริง Mac Pherson Strut
ปี 1973 ฝากระโปรงหน้าโค้งโหนกนูนสั้นกว่ารุ่น 1302 เพื่อให้รับกับกระจกหน้าโค้งกว้าง เรียกรุ่น หน้าโหนกกระจกโค้ง หรือรุ่น 1303 superstar

รุ่น 1302, 1303 ถ้ามีอักษร S ตามหลังจะเป็นเครื่อง 1,600 cc. ล้อหน้าเป็น dise brake
 
ฝากระโปรงท้าย
รุ่นเก่ามาจนถึง 1957 ฝาท้ายจะเป็นเหล็กปั้มนูน เป็นรูปตัว w ไฟส่องป้ายเป็นกระเปาะคล้ายจมูก มีสันอยู่ด้านบนด้วย
ปี 1958-64 ฝากระโปรงท้ายยังคงแบน เหล็กปั๊มนูน เหลือแต่สันดั้งจมูกไม่เชื่อมกับสัน 2 ข้าง ไฟส่องป้ายยังเป็นรูปกระเปาะคล้ายจมูกกลมมน ไม่มีสันด้านบน แล้วมือจับเป็นเขาควายเปิดปิดใช้วิธีบิดหมุนซ้ายขวา
ปี 1965-66 เหล็กปั้มนูนยังคงมีคล้ายสันดั้งจมูก ไฟส่องป้ายขยายบานใหญืกว้างออก ที่ปิดเปิดฝาเป็นปุ่มกด มีตะขอให้นิ้วเกี่ยวได้

รุ่นที่กล่าวมาทั้งหมดฝากระโปรง ท้ายยังแบนราบ และแหลมยาว จึงเรียกว่า ตูดหางแมลงสาบ
ปี 1967 สันดั้งจมูกหายไป ฝากระโปรงทำโปร่งยื่นออกถึงไฟส่องป้าย ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีก แล้วหักดิ่งลงตรงบริเวณที่ติดป้ายทะเบียนรถ ( ลักษณะเฉพาะรุ่น 1967 รุ่นเดียว)
ปี 1968-70 สันดั้งจมูกหายไป ฝากรโปรงท้ายสั้นขึ้น และโป่งออก ด้านล่างป้านตัดไม่แหลมรีเหมือนรุ่นเก่า
ปี 1971 ทุกอย่างเหมือนเดิม แต่เจาะรูระบายอากาศเป็นช่องยาวๆ 2 ช่อง
ปี 1972 เป็นต้นไป คล้ายรุ่นปีที่ผ่านมา แต่ช่องระบายอากาศเป็น 4 ช่อง

มือเปิด-ปิดประตู
รุ่นเก่ามาจนถึง 1959 ใช้มือเปิดชนิดง้างดึงออก
ปี 1960-65 เปลี่ยนเป็นมือเปิดติดตาย แต่กดปุ่มเปิด ปุ่มเปิดเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ปี 1966-67 ปุ่มเปิดเป็นรูปกลม
ปี 1968 - รุ่นสุดท้าย เป็นแบบไกปืนซ่อนอยู่ด้านในของมือจับแทนปุ่มกด

ที่เติมน้ำมันเบนซิล
รุ่นเก่ามาจนถึงรุ่นปี 1967 ที่เติมน้ำมันอยู่ใต้กระโปรงหน้า ต้องเปิดฝากระโปรงหน้าขึ้นก่อน เวลาเปิดต้องใช้ขาค้ำ จนถึงปี 1961

ปี 1962 เป็นต้นไป ใส่สปริงเข้าไปช่วยให้เปิดง่ายเบาแรง และไม่ต้องใช้ขาค้ำอีก
ปี 1968 ย้ายฝาเติมน้ำมันไปอยู่เหนือบังโคลนหน้า ด้านขวามีแผ่นเหล็กปิดไว้ มีปุ่มดึงปลดล็อคอยู่ภายใน บางรุ่นใช้ล็อคด้วยกุญแจ คือ รุ่น 1303

กระจกกันลมหน้า
รุ่นแรกๆ ถึง 1957 เป็นแผ่นเล็กและแบน
ปี 1958-64 ขยายใหญ่ขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงแบนอยู่ ใบปัดน้ำฝน เป็นแผ่นแข็งตรง
ปี 1965-72 ขยายใหญ่ขึ้นอีก ตรงกลางโค้งเล็กน้อย ( มองจากด้านข้าง )
ใบปัดน้ำฝนเป็นยางยืดหยุ่นได้
ปี 1973 กระจกหน้าขยายกว้าง และโค้งมากเป็นพิเศษ เรียกว่ารุ่น หน้าโหนก กระจกโค้ง superstar 1303

กระจกกันลมหลัง
รุ่นเริ่มผลิตจนถึง 1951 กระจกกลมรี รูปไข่ผ่าตรงกลาง เรียก จอไข่ฝ่า ( split window)
ปี 1952-57 กระจกกลมรีรูปไข่ เรียก จอแคบ, จอไข่ ( oval window )
ปี 1958-70 ขยายกว้างออกมาเรียกรุ่น จอกว้าง
ปี 1971 เป็นต้นไป ขยายด้านสูงขึ้นไปอีกเล็กน้อย

กระจกด้านข้างรถ
 
รุ่นผลิตแรกๆ กระจกประตูเป็นแผ่นเดียว one piece window

ปี 1952 มีกระจกหูช้างข้างหน้า เพื่อตักลมเข้าห้องโดยสาร สังเกตเสาหูช้างหน้าจะตั้งตรง กระจกหูช้างบานใหญ่ ตัวล็อคหูช้างต้องกดปุ่มปลดล็อคเวลาเปิด กระจกหูช้างหลังก็เล็กแคบปิดตาย จนถึงรุ่นปี 1963 กระจกหูช้างจึงมีบานพับเพื่อเปิดแง้มระบายอากาศได้

กะทะล้อและฝาครอบล้อ
รุ่นแรกๆ จนถึง 1965 ( เครื่อง 1200 รุ่นสุดท้าย ) กะทะล้อไม่มีรู มีเหล็กสปริงสำหรับยึดฝาครอบล้อที่กลมนู
น้อตยึดกะทะล้อกับดุมล้อมี 5 ตัว

ปี 1966 ( เครื่อง 1300 รุ่นแรก ) กะทะล้อมีรูยาวรี ฝาครอบล้อแบน
ปี 1967 เครื่อง 1500 ล้อหน้า disc brake น้อตยึดมี 4 รู ฝาครอบล้อแบน
ปี 1968 เป็นต้นไป กะทะล้อมีรูกลมค่อนข้างรี มีน้อตยึดกะทะล้อ 4 ตัว ระยะกึ่งกลาง ระหว่างรูน้อตล้อวัดได้ 130 มม. ฝาครอบล้อแบน
ที่มา : หนังสือรวมพลคนรักโฟล์ค เทิดพระเกียรติ ร.9 มหาราช วันที่ 9 พฤษภาคม 2542
เรียบเรียง : webmaster



Designed by Yellowtree